BREAKING NEWS

'น้ำตาซึม' พวกเขาทำงานกลางแดด วันละ 12 ชั่วโมง เพื่อ 'การเล่นมือถือ' ของคุณ

นี่คือเหมืองแร่ลูวาว (Luwow) ในประเทศคองโก ซึ่งแรงงาน 1,400 คนในเหมืองแร่แห่งนี้ ใช้ “มือ” ขุดหาแร่โคลแทน ซึ่งเป็นแร่สำคัญที่นำมาผลิตเป็นตัวคอนดักเตอร์ ซึ่งควบคุมพลังงานที่ใช้ใน “อุปกรณ์ไฮเทค” อย่างสมาร์ทโฟนของพวกเรา ไม่ว่าจะเป็นไอโฟน ซัมซุงกาแล็กซี่ รวมถึงสมาร์ทโฟนอื่นๆ
'น้ำตาซึม' พวกเขาทำงานกลางแดด วันละ 12 ชั่วโมง เพื่อ 'การเล่นมือถือ' ของคุณ

หนุ่มๆเหล่านี้ต้องทำงานกลางแดดวันละ 12 ชั่วโมง แร่ที่ขุดได้โดยมือเปล่า จอบ และเสียม จะถูกนำบรรจุใส่กระสอบข้าวสาร แล้วโยนลงบนไหล่ของคนงาน ที่จะต้องแบกลำเลียงมันไปร่อนเอาเฉพาะเนื้อแร่ต่อไป
'น้ำตาซึม' พวกเขาทำงานกลางแดด วันละ 12 ชั่วโมง เพื่อ 'การเล่นมือถือ' ของคุณ

แม้ต้องทำงานหนักกลางแดดทั้งวัน เนื้อตัวเปื้อนโคลน อุณหภูมิร้อนจัด ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตแต่คนเหล่านี้ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งอยู่ที่วันละ 3 ดอลลาร์ (100 บาท) เท่านั้น
'น้ำตาซึม' พวกเขาทำงานกลางแดด วันละ 12 ชั่วโมง เพื่อ 'การเล่นมือถือ' ของคุณ

ทั้งแอปเปิ้ล และซัมซุง ยอมรับว่าพวกเขาใช้แร่โคลแทน จากประเทศคองโกล มาสร้างเป็นสมาร์ทโฟนของตัวเองจริง แอปเปิ้ล ชี้แจงว่า ซัพพลายเออร์ของพวกเขาจะต้องปฏิบัติตามหลัก ความเป็นธรรมและเคารพผู้ใช้แรงงาน ส่วนซัมซุงบอกว่า พวกเขาตระหนักถึงความรุนแรงในการละเมิดสิทธิมนุษยชน และปัญหามลพิษจากเหมืองแร่ในคองโก
'น้ำตาซึม' พวกเขาทำงานกลางแดด วันละ 12 ชั่วโมง เพื่อ 'การเล่นมือถือ' ของคุณ

แต่ถึงอย่างนั้น ในการทำงานจริงที่เหมืองแร่ Luwow นั้น มีเพียงผู้คุมงานก่อสร้าง ที่ยืนดูคนงานนับร้อยลุยงานหนักอยู่กลางแดด และคอยตะโกนสั่งให้คนเหล่านี้ทำงานหนักขึ้นและเร็วขึ้น
'น้ำตาซึม' พวกเขาทำงานกลางแดด วันละ 12 ชั่วโมง เพื่อ 'การเล่นมือถือ' ของคุณ

อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในทวีปแอฟริกา ถูกค้นพบโดยชาวเบลเยียมเมื่อเกือบ 100 ปีก่อน ทั้งทองคำ เพชร ยูเรนียม และโคลแทน ถูกรีดเค้นออกมาขับเคลื่อนโลกใบนี้
'น้ำตาซึม' พวกเขาทำงานกลางแดด วันละ 12 ชั่วโมง เพื่อ 'การเล่นมือถือ' ของคุณ

แต่น่าเศร้าที่กำไรจากเหมืองแร่เหล่านี้ ถูกนำไปใช้จัดหาอาวุธ เพื่อทำสงครามสู้รบจากความขัดแย้งภายในภูมิภาคที่ยืดเยื้อมากว่า 20 ปีแล้ว เช่นเดียวกับเหมืองลูวาวแห่งนี้ มันเป็นของกองกำลังที่ได้รบการหนุนหลังจากประเทศรวันดา ทำให้ประเทศเล็กๆ แห่งนี้กลายเป็นประเทศที่ส่งออกโคลแทนมากที่สุดในโลก


ที่มา: Daily Mail
 
สงวนลิขสิทธิ์ © ข่าว ไทย