ขาโก่ง หรือ bow legs มีทั้งโก่งปกติ และโก่งผิดปกติ
- ลูกขาโก่งเพราะใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
- อันนี้ไม่จริงค่ะ เพราะได้รับการยืนยันทั้งจากทางการแพทย์ และเหล่าบรรดาคุณแม่ทั้งหลายแล้วว่า ขาโก่งไม่เกี่ยวกับการใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป แต่ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ และความผิดปกติทางร่างกายมากกว่า (กรณีเป็นขาโก่งแบบเป็นโรค)
- อย่าอุ้มลูกเข้าเอวเดี๋ยวขาจะโก่งนะ
- ไม่จริงเช่นกัน ความเชื่อที่ว่า การอุ้มเด็กแบบเหน็บข้างตัวอ้าขาออก (อุ้มเข้าเอว) เป็นสาเหตุทำให้ขาโก่ง เป็นความความเชื่อที่ผิดค่ะ อันที่จริงแล้วไม่ว่าจะอุ้มท่าไหน การสัมผัส การพูดคุย และการเล่นกับลูก ล้วนแล้วแต่เป็นการช่วยเชื่อมสายสัมพันธ์ ความผูกพันระหว่างแม่กับลูก ส่งผลให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีสมวัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ จนกระทั่งลูกเข้าสู่วัยคลานหรือหัดเดินคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรอุ้มลูกมากเกินไป ควรปล่อยให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อทุก ๆ ส่วน เพื่อให้กล้าเนื้อได้เจริญเติบโตและแข็งแรงสมวัย
- ตอนเล็กๆดัดขาให้ลูกด้วยนะไม่งั้นโตมาขาจะโก่ง
- ไม่ว่าจะดัดตอนนอนหรือหลังอาบน้ำ ก็ไม่สามารถป้องกันได้ค่ะ เพราะการดัดขาโดยใช้มือทำเป็นครั้ง ๆ ไม่สามารถสร้างแรงกดกับกระดูกขาได้เลย จึงไม่ได้ช่วยหรือป้องกันขาโก่งได้แต่อย่างใด
ลูกขาโก่ง ปกติ คือ ถ้าคุณแม่สังเกตขาลูกน้อยบริเวณเข่างอโค้งออก ขาจะทำมุมชี้ออกด้านนอก แต่เดินไม่กะเผลก ซึ่งเป็นภาวะขาโก่งปกติ ซึ่งในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี จะพบว่ามีอาการขาโก่งแบบนี้ได้ค่ะ เพราะขณะที่เค้าอยู่ในครรภ์มารดานั้นมีการขดตัว ทำให้เกิดการตึงของเส้นเอ็น และการรั้งของกล้ามเนื้อด้านในของข้อเข่า แต่พอเค้าเริ่มยืน กล้ามเนื้อส่วนนี้มีการออกแรง ร่างกายก็จะปรับเข้าที่เข้าทางมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้าที่จริงๆ ก็เมื่อเค้าอายุประมาณ 2 ขวบปี
วิธีการทดสอบง่ายๆ ที่คุณแม่สามารถทำได้ โดยให้คุณแม่จับลูกนอนเหยียดขาตรงๆ จับข้อเท้าให้ชิดกัน จับเข่าให้กระดูกสะบ้าหัวเข่าทั้ง 2 ข้างหันตรงไปด้านหน้า และวัดระยะระหว่างหัวเข่าด้านในของทั้งสองข้างไม่ควรเกิน 8 ซม.ถ้ามากเกินกว่านี้ และเจ้าตัวเล็กอายุมากกว่า 2 ปี ควรหาสาเหตุต่อไปค่ะ
ให้คุณแม่สังเกตการเดินของลูกดูนะคะว่าเค้าเดินได้สะดวกดีไหม กระเผลก หรือว่ามีอาการเท้าปุกร่วมด้วยหรือเปล่า ถ้าคุณแม่สังเกตพบความผิดปกติดังที่กล่าวมาให้พาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียด
สรีระวิทยาของกระดูกขาทารกน ั้นเป็นไปตามธรรมชาติ เมื่อถึงเวลา ก็เข้าที่เข้าทางเป็นปกติ ไม่ต้องกังวลมากจนเกินไปนะค ะ แต่ถ้าคุณแม่กังวล แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกระดูก
ที่มา: mamaexpert.com