รักต่าง ศาสนา ราชา มุสลิม กับ เจ้าหญิง ฮินดู
ประวัติศาสตร์ของจักรพรรดิ์ หนุ่มชาวมุสลิม แห่งราชวงศ์โมกุล อัคบัร กับ เจ้าหญิงชาว ฮินดู แห่ง ตระกูลราชปุต มีนามว่า โยดา ที่ต้องถูกบังคับให้สมรสกันเพราะการเมือง
องค์ หญิงโฉมงามแม้จะไม่ ปรารถนาจะสมรสครั้งนี้แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธคำขอของบิดา มารดาได้ หลังจากพิธีสมรสเสร็จสิ้นเธอต้องเดินทางมาอาศัยอยู่ที่ต่างบ้านต่างเมือง แม้จะยินยอมแต่งงานแต่เจ้าหญิงกลับยื่นคำขาดในเรื่องของการนับถือศาสนาว่า เธอจะไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาฮินดูไปเป็นอิสลามเด็ดขาด และ จะขอให้ทางวังจัดสร้างห้องสำหรับประกอบพิธีทางศาสนาให้กับเธอด้วย หลังอภิเสกรสมรสทั้งคู่ได้เพียงแต่เป็นสามีภรรยากันในนามเท่านั้น เพราะเจ้าหญิงโยดาก็ยังไม่เปิดใจให้กับอัคบัรด้วยความอคติที่มีมาก่อนหน้า นี้
ฝ่ายจักรพรรดิ์หนุ่มอัคบัรนั่นเล่ายิ่งนานวัน ยิ่งหลงไหลในความงามของเจ้าหญิงต่างเมือง
องค์ หญิงโฉมงามแม้จะไม่ ปรารถนาจะสมรสครั้งนี้แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธคำขอของบิดา มารดาได้ หลังจากพิธีสมรสเสร็จสิ้นเธอต้องเดินทางมาอาศัยอยู่ที่ต่างบ้านต่างเมือง แม้จะยินยอมแต่งงานแต่เจ้าหญิงกลับยื่นคำขาดในเรื่องของการนับถือศาสนาว่า เธอจะไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาฮินดูไปเป็นอิสลามเด็ดขาด และ จะขอให้ทางวังจัดสร้างห้องสำหรับประกอบพิธีทางศาสนาให้กับเธอด้วย หลังอภิเสกรสมรสทั้งคู่ได้เพียงแต่เป็นสามีภรรยากันในนามเท่านั้น เพราะเจ้าหญิงโยดาก็ยังไม่เปิดใจให้กับอัคบัรด้วยความอคติที่มีมาก่อนหน้า นี้
ฝ่ายจักรพรรดิ์หนุ่มอัคบัรนั่นเล่ายิ่งนานวัน ยิ่งหลงไหลในความงามของเจ้าหญิงต่างเมือง
ประวัติของทั้ง สอง
ความรักของจักรพรรดิ์หนุ่มมุสลิมแห่งราชวงศ์ Mughal (โมกุล) นาม Jalaluddin Mohammad Akbar กับองค์หญิงฮินดูเมือง Rajput (ราชปุต) นาม “Jodhaa Bai” ที่ต้องมาอภิเษกสมรสทางการเมือง ในขณะที่เรื่องของศาสนาซึ่งแตกต่างกัน นำมาซึ่งความขัดแย้งของสองดินแดน” …ศตวรรษ ที่ 16 พระเจ้าจาลาลุดดิน โมฮัมมัด อัคบัร์แห่งราชวงศ์มุคัล (โมกุล) ทรงขึ้นครองราช พระองค์ประสงค์จะรวบรวมอินเดียเหนือเข้าไว้ด้วยกัน ภายใต้รัฐบาลเดียวจากเมืองหลวง (Delhi) …แม้ในพระทัยจะทรงใฝ่หาความสงบสุขและประสงค์จะได้อำนาจมาด้วยสันติวิธี ทว่าสงครามกลับเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้… …ท่าม กลางสงครามการแย่งชิงดินแดน พระราชอำนาจและชื่อเสียงของพระเจ้าจาลาลุดดินก็แผ่ขจรไกล
ทำให้หลายแคว้นหลายเมืองต่างกริ่งเกรง ซึ่งแคว้น Amer ก็เป็นหนึ่งในนั้น เมื่อกษัตริย์ Bharmal แห่ง Amer ทรงพ่ายแพ้ แต่กลับไม่ถูกพระเจ้าจาลาลุดดินประหารชีวิต ทำให้ทราบซึ้งในน้ำพระทัยของกษัตริย์จาลุดลาดิน พระองค์จึงทรงคิดวิธีเชื่อมสัมพันธ์กับราชวงศ์ Mughal ด้วยการยกพระธิดาให้อภิเษกกับกษัตริย์จาลาลุดดิน เพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยของแคว้น Amer และเพื่อเป็นการปกป้องเมืองของตัวเองจากการถูกโจมตีของพระนัดดาที่หนีไปอยู่ ฝ่ายเมืองของศัตรู ท่ามกลางความคัดค้านจากเมืองใกล้เคียง แต่กษัตริย์ Bharmal ก็ยังยืนกรานความคิดนี้ แน่นอนว่าทั้งสองไม่เคยพบกัน!…แม้พระธิดาโจดาจะไม่เต็มใจแต่ก็มิอาจขัดพระ บัญชา ในขณะที่เดินทางไปยังเมือง Delhi พระ ธิดาโจดาทรงยื่นข้อเสนอต่อพระเจ้าจาลาลุดดินสองข้อ ซึ่งคิดว่าพระเจ้าจาลาลุดดินคงจะไม่ตกลง ทว่าพระองค์กลับยินยอมรับข้อเสนอนั้นเพื่อเชื่อมสัมพันธ์กับเมืองราชปุต ประการแรกคือ นางขอนับถือศาสนาฮินดูต่อไป และประการสุดท้ายคือ ขอนำเอารูปสักการะของศาสนาฮินดูมาสถิตไว้ภายในวังของนางเอง …ที่สุดการอภิเษกสมรสระหว่างสองแคว้นก็เกิดขึ้น ท่ามกลางปัญหาต่างๆ มากมาย การคัดค้านทั้งทางด้านศาสนาและการเมือง… …
เรื่อง ราวของสองพระองค์จะเป็นเช่นไร เมื่อกษัตริย์มุสลิมทรงแต่งตั้งพระธิดาที่นับถือศาสนาฮินดูเป็นราชินี? และจะเกิดอะไรขึ้น หลังจากที่กษัตริย์จาลาลุดดินได้ประสพพบพักตร์ขององค์หญิงโจดาเป็นครั้งแรก? กว่า ที่พระองค์จะทรงเป็นที่ยอมรับของพษกนิกรชาวฮินดู สุดท้ายพระบารมีของกษัตริย์จาลาลุดดินก็ยิ่งแผ่ขยายจนได้รับสมญานามจากเหล่า ประชากรของพระองค์ทั่วราชอาณาจักรว่า “อัคบัร์” (หมายถึงมหาราช) ด้วยทรงเข้มงวดและรัดกุมต่อการเก็บภาษีอากร ให้สิทธิฐานะของประชากรชาวฮินดูและมุสลิมอย่างเท่าเทียมกัน ให้ชาวฮินดูสามารถเข้ารับราชการในตำแหน่งสูงๆ ได้ทั้งทางด้านการทหารและพลเรือน เรียกได้ว่ายุคของพระเจ้าอัคบัร์มหาราชเป็นยุคใหม่และยุคที่รุ่งเรืองที่สุด ของศิปละอุตสาหกรรมและสถาปัตยกรรมโดยแท้ แต่การท้าทายที่ใหญ่หลวงของกษัตริย์แห่ง Mughal ไม่ใช่อยู่กับการชนะศึกสงครามหรือการรวบรวมดินแดน ทว่าอยู่ที่การเอาชนะพระทัยของพระชายาโจดา การต่อสู้กับความรักที่แอบซ่อน อยู่ภายใต้ความแค้นใจและอคติอย่างแรง “โจดา อัคบัร” คือเรื่องราวความรักที่ไม่เคยมีใครกล่าวถึงไว้ในหน้าประวัติศาสตร์…สุด ท้ายความรักของคนทั้งคู่จึงกลายเป็นแค่ตำนาน
ที่มา: variety.teenee