ถ้าเฉพาะคำ "อุยกูร์" เป็นหนึ่งในหลายกลุ่มชาติพันธุ์ที่ประกอบกันเข้าเป็นประชากรของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ หรือ ซินเกียงอุยกูร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน
นับเป็นพื้นที่เขตปกครองที่ใหญ่ที่สุดของจีน มีขนาดประมาณ 1/6 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
นับแต่สมัยราชวงศ์ชิง ซินเกียงเป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน อยู่ห่างจากกรุงปักกิ่งถึง 4,000 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 1.66 ล้านตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ทุรกันดารเพราะตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงปาร์มีและทะเลทรายทากลามากัน
การที่อยู่ใกล้กับประเทศในเอเชียกลางหลายประเทศ ทำให้ประชากรพื้นเมืองของซินเกียงไม่ใช่ชาวจีน แต่เป็นคนเชื้อสายเติร์กที่เรียกตัวเองว่าชาว "อุยกูร์" หรือภาษาจีนเรียก เหวยอู๋เอ่อ นับถือศาสนาอิสลาม
ซินเกียงเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณ และการที่เป็นจุดเชื่อมแผ่นดินใหญ่เข้ากับเอเชียกลางและเอเชียใต้ ทำให้เจริญถึงขีดสุดในยุคที่การค้าบนเส้นทางสายไหมรุ่งเรือง ศาสนาอิสลามเผยแผ่เข้ามาผ่านพ่อค้ามุสลิมตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 ครั้นถึงศตวรรษที่ 10 ชาวอุยกูร์ทั้งหลายก็กลายเป็นมุสลิม นครการค้าอย่างคาชการ์ ที่อยู่ทางตะวันตกสุด เป็นเมืองที่มีความเจริญสูงยิ่ง และเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมอิสลาม
จนถึงศตวรรษที่ 14 สุลต่านแห่งนครทั้งหลายก็เรียกดินแดนของพวกเขา ว่า เตอร์กิสถานตะวันออก
ดินแดนนี้ตกเป็นของจีนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ในเวลานั้นชาวฮั่นและชาวมุสลิมอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ด้วยมหาจักรพรรดิจีนมีนโยบายให้ชาวมุสลิมปกครองกันเองและให้เสรีภาพเต็มที่ในการนับถือศาสนา
แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 18 จีนและรัสเซียแข่งขันกันแผ่อิทธิพลในเอเชียกลาง จีนจึงเพิ่มความเข้มในการปกครองซินเกียง ราชสำนักชิงปราบปรามอย่างเฉียบขาดกับมุสลิมที่ต่อต้าน ทำให้ล้มตายกันเป็นอันมาก ความเกลียดชังก็ยิ่งเพิ่ม นโยบายนี้ยิ่งใช้ก็ยิ่งกระพือปัญหาให้ลุกลาม
ค.ศ.1755 ราชสำนักชิงส่งกองทหารเข้ายึดเมืองคาชการ์ และเมื่ออิทธิพลของอังกฤษแผ่เข้ามาในเอเชียใต้และเอเชียกลางในศตวรรษที่ 19 จีนจึงขีดเส้นเขตแดนล้อมอาณาจักรจีน แต่ขณะเดียวกันก็ตัดขาดชาวมุสลิมในซินเจียงกับมุสลิมในเอเชียกลาง
อำนาจปกครองถูกรวบไปรวมศูนย์ที่กรุงปักกิ่ง ซินเกียงกลายเป็นเพียงดินแดนชายขอบของอาณาจักรจีนอันไพศาล อารยธรรมที่เคยรุ่งเรืองก็กลายเป็นสิ่งที่แปลกแยกจากอารยธรรมของจีนศูนย์กลาง
ซินเกียงหมดความสำคัญในฐานะดินแดนการค้า แล้วเศรษฐกิจก็ตกต่ำลงเรื่อยๆ จนเป็นเพียงดินแดนที่ยากจน นอกจากนี้จีนได้ส่งขุนนางจีนไปปกครองซินเจียงแทนการให้มุสลิมปกครอง ขุนนางที่ถูกส่งไปมักเป็นขุนนางโฉดที่ถูกลงโทษให้ไปลำบากในแดนไกล
แต่การที่อยู่ไกลเมืองหลวงมากเปิดช่องให้ขุนนางเหล่านี้กดขี่ประชาชน ขูดรีด ทุจริต และไม่เคารพประเพณีมุสลิม สร้างความเดือดร้อนให้ชาวมุสลิมอย่างมาก เป็นมูลเหตุที่ทำให้มุสลิมเกลียดชังรัฐบาลจีนและก่อเหตุสู้รบต่อต้านทางการนับครั้งไม่ถ้วน
ทศวรรษที่ 1940 ชนมุสลิมรวมตัวกันภายใต้การนำของชาวคาซัคนาม "อุสมาน" พร้อมพรรคพวกชาวคาซัค อุยกูร์ และมองโกล ก่อการจลาจลขึ้น รัฐบาลจีนของเจียงไคเช็กตอบโต้ด้วยกำลังทหาร เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงจนที่สุดต้องทำข้อตกลงสันติภาพระหว่างกันใน ค.ศ.1946
เดือนกันยายน 1949 ซินเจียงปลดแอกอย่างสันติ ครั้นวันที่ 1 ตุลาคม เมื่อ สาธารณรัฐประชาชนจีน สถาปนา เขตซินเจียงจึงกลายเป็นเขตบริหารระดับมณฑลที่มีอำนาจปกครองตนเองได้เขตหนึ่งของจีน โดยมีเมืองเอกของมณฑลชื่อ อุรุมชี
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างชนฮั่นกับชนอุยกูร์มีมาอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงความแตกต่างด้านวัฒนธรรมและศาสนา หากยังรวมถึงข้อวิจารณ์ถึงการเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ
โดยเฉพาะในปี 2009 หรือ พ.ศ.2552 เกิดเหตุจลาจลระหว่างชนสองฝ่าย มีผู้เสียชีวิตกว่า 184 ราย บาดเจ็บนับพัน ส่วนใหญ่เป็นชาวอุยกูร์ จากนั้นมา ทางการจีนยกระดับการคุมเข้มยิ่งขึ้น กระทั่งถูกตอบโต้ด้วยเหตุวางระเบิดในชุมชนเมืองอื่นๆ ของจีน รวมถึงในกรุงปักกิ่ง เป็นระยะ ซึ่งจีนใช้มาตรการแข็งกร้าวยิ่งขึ้น จนมีชาวอุยกูร์อพยพหนีภัยออกจากดินแดน โดยในช่วงเดือนมีนาคมปี 2014 ที่อพยพมาที่อ.สะเดา จ.สงขลา ของไทยกว่า 250 คนนั้น เป็นชาวอุยกูร์เช่นกัน
เดือนกันยายน 1949 ซินเจียงปลดแอกอย่างสันติ ครั้นวันที่ 1 ตุลาคม เมื่อ สาธารณรัฐประชาชนจีน สถาปนา เขตซินเจียงจึงกลายเป็นเขตบริหารระดับมณฑลที่มีอำนาจปกครองตนเองได้เขตหนึ่งของจีน โดยมีเมืองเอกของมณฑลชื่อ อุรุมชี
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างชนฮั่นกับชนอุยกูร์มีมาอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงความแตกต่างด้านวัฒนธรรมและศาสนา หากยังรวมถึงข้อวิจารณ์ถึงการเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ
โดยเฉพาะในปี 2009 หรือ พ.ศ.2552 เกิดเหตุจลาจลระหว่างชนสองฝ่าย มีผู้เสียชีวิตกว่า 184 ราย บาดเจ็บนับพัน ส่วนใหญ่เป็นชาวอุยกูร์ จากนั้นมา ทางการจีนยกระดับการคุมเข้มยิ่งขึ้น กระทั่งถูกตอบโต้ด้วยเหตุวางระเบิดในชุมชนเมืองอื่นๆ ของจีน รวมถึงในกรุงปักกิ่ง เป็นระยะ ซึ่งจีนใช้มาตรการแข็งกร้าวยิ่งขึ้น จนมีชาวอุยกูร์อพยพหนีภัยออกจากดินแดน โดยในช่วงเดือนมีนาคมปี 2014 ที่อพยพมาที่อ.สะเดา จ.สงขลา ของไทยกว่า 250 คนนั้น เป็นชาวอุยกูร์เช่นกัน
สำหรับชาวอุยกูร์ ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://thai.cri.cn/chinaabc ระบุว่า
ชนชาติอุยกูร์เป็นชนเผ่าเก่าแก่ของภาคเหนือของจีน คำว่าอุยกูร์มีความหมายว่าสามัคคีกันและร่วมกัน
ชาวอุยกูร์ใช้ชีวิตอาศัยอยู่ทั่วซินเกียง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่เมืองทางใต้ภูเขาเทียนซาน เช่น เมืองคาสือ เมืองเหอเถียน และเมืองอาคซู เป็นต้น
ชาวอุยกูร์ใช้ชีวิตอาศัยอยู่ทั่วซินเกียง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่เมืองทางใต้ภูเขาเทียนซาน เช่น เมืองคาสือ เมืองเหอเถียน และเมืองอาคซู เป็นต้น
ชนชาติอุยกูร์มีภาษาและอักษรของตนเอง เสื้อผ้าประจำชาติอุยกูร์คือ ไม่ว่าผู้ชายผู้หญิงผู้สูงอายุหรือว่าเด็กต่างใส่หมวกเล็กที่มีลายสี่เหลี่ยม ผู้ชายนิยมใส่ "เชียผั้น" ซึ่งเป็นเสื้อคลุมยาว ส่วนข้างในใส่เสื้อแขนสั้นที่มีลาย
ผู้หญิงนิยมใส่กระโปรงและข้างนอกใส่เสื้อกั๊กสีดำ และชอบใส่เครื่องแต่งกายต่างๆ เช่น ต่างหู กำไลมือ แหวนและสร้อยคอ เป็นต้น สาวๆ นิยมถักเปียหลายเส้น แต่ปัจจุบันชาวอุยกูร์ในเมืองก็นิยมใส่เสื้อธรรมดา
ชาวอุยกูร์มีมรรยาทมาก เวลาเจอผู้ใหญ่หรือเพื่อน ก็เอามือขวาแนบที่หน้าอกตรงกลาง ก้มตัวลงและทักทาย เป็นชนชาติที่มีอัธยาศัยชอบรับแขก
ชนชาติอุยกูร์เป็นชนชาติที่มีความถนัดในการร้องเพลง และเต้นรำ ระบำของชนชาติอุยกูร์มีท่วงทำนองงดงามและหมุนเร็ว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงนิสสัยอันร่าเริงของชาวอุยกูร์
ชนชาติอุยกูร์ทำการผลิตและการเกษตรเป็นหลัก และทำการเลี้ยงสัตว์ด้วย ชาวอุยกูร์ทำธุรกิจ และหัตถกรรมที่สืบทอดกันมาช้านานเจริญรุ่งเรืองมาก และมีระดับศิลปะค่อนข้างสูง ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น พรม ผลิตภัณฑ์เย็บปักถักร้อย ผ้าไหม กาทองแดง มีดและเครื่องดนตรีชนชาติอุยกูร์ ที่ชาวอุยกูร์ผลิต มีเอกลักษณ์พิเศษของชนชาติอุยกูร์
ที่มา: variety.teenee.com