ความเชื่อของคนจีน การรัดเท้า แบบว่าเผชิญพี่ผึ้งเป็นคนที่มีเชื้อมีสายทางนี้ เลยขอเอามาเล่าให้ฟัง โดยเฉพาะ น้องผู้หญิงได้รู้กัน โดยชาวจีนในสมัยโบราณ...เขาเชื่อว่า ผู้หญิงที่รัดเท้าเล็กๆ แสดงว่าเป็น(ผู้ดี)เกิดในตระกูลสูงศักดิ์
เวลาคุณหนูลูกผู้ดีจะเดินไปไหนมาไหนจะต้องมีคนรับใช้คอยจูง แล้วก็ไม่ต้องทำงานหนักเหมือนหญิงชาวบ้านทั่วไปด้วยนะ ประมาณว่าแลกกับที่ต้องทำให้เท้าของตัวเองพิการ ผิดรูปผิดร่างไปจากเกิด เพราะพวกผู้ชายจีนเขาชอบเท้าเล็กๆ แบบนี้
ถ้าผู้หญิงชาวจีน...คนไหนไม่รัดเท้าเค้าจะมองว่าเป็นพวกชั้นต่ำ เป็นพวกใช้แรงงาน ทำนองนั้นด้วยนะ ถึงการรัดเท้าจะที่นิยมในประเทศจีน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำกันทุกคนนะ โดยชาวบ้านธรรมดาไม่ค่อยทำกัน
เพราะว่าอาชีพหลักของพวกเขา คือทำไร่ทำนา ถ้ารัดเท้าก็ทำงานไม่ได้ เป็นอันว่าได้อดตายกันพอดี
ประเพณีจีนแต่โบราณมาเชื่อว่า สุดยอดความงามของสตรีคือ การมีเท้าคู่เล็กดุจกลีบดอกบัว โดยการรัดเท้าจะส่งผลต่อความมั่งคั่ง และสถานภาพในอนาคตของลูกสาว รวมถึงความสุขในชีวิต ภายใต้ความเชื่อดังกล่าว สตรีจีนทั่วประเทศต้องทรมาน อย่างแสนสาหัสมานานกว่าพันปี เพิ่งจะมาเลิกเมื่อเกือบร้อยปีที่แล้วนี้เอง ที่มีการปลดแอกจากประเพณีสุดทรหดนี้ หลังรัฐบาลคอมมิวนิสต์ชุดแรกสั่งห้ามไม่ให้มีการรัดเท้า!!
สมัยก่อนการรัดเท้าถือเป็นข้อบังคับทางสังคม สำหรับสตรีฮั่นทั่วประเทศ ไม่ว่ายากดีมีจนผู้หญิงที่มีลูกสาว อายุ 4-5 ขวบ จะต้องรัดเท้าให้ลูกสาว ไม่เช่นนั้น จะถูกเยาะหยันที่ไม่ได้ทำหน้าที่ของแม่ ยิ่งรัดให้ยิ่งเล็กก็ยิ่งดี การรัดเท้าทำโดยใช้แถบผ้า ซึ่งทำจากผ้าฝ้ายเนื้อหยาบ กว้างประมาณ 3 นิ้ว ยาว 7 นิ้ว แม่ของเด็กมักจะเป็นผู้ทอผ้าเอง
บางครั้งจะมีการย้อมครามสีน้ำเงิน เพราะเชื่อว่า ป้องกันไม่ให้เท้าเน่าเปื่อย การเลือกวันมงคลเพื่อเริ่มรัดเท้า จึงมีความสำคัญยิ่ง การรัดเท้าจะทำให้นิ้วเท้าทั้งหมด ยกเว้นหัวแม่เท้าถูกพับลงไป และรัดติดแน่นกับฝ่าเท้า จะเรียกว่า เท้าดอกบัวทองได้ ก็ต่อเมื่อเท้ามีขนาดเล็กแค่ 3 นิ้ว ถ้าเหลือ 4 นิ้ว เรียกว่าดอกบัวเงิน และถ้าใหญ่เกิน 4นิ้ว เรียกว่าดอกบัวเหล็ก
บางครั้งจะมีการย้อมครามสีน้ำเงิน เพราะเชื่อว่า ป้องกันไม่ให้เท้าเน่าเปื่อย การเลือกวันมงคลเพื่อเริ่มรัดเท้า จึงมีความสำคัญยิ่ง การรัดเท้าจะทำให้นิ้วเท้าทั้งหมด ยกเว้นหัวแม่เท้าถูกพับลงไป และรัดติดแน่นกับฝ่าเท้า จะเรียกว่า เท้าดอกบัวทองได้ ก็ต่อเมื่อเท้ามีขนาดเล็กแค่ 3 นิ้ว ถ้าเหลือ 4 นิ้ว เรียกว่าดอกบัวเงิน และถ้าใหญ่เกิน 4นิ้ว เรียกว่าดอกบัวเหล็ก
ประเพณีการรัดเท้าสร้างความเจ็บปวดและทรมานให้แก่สตรีจีนมาแล้วกว่าพันปี (โอ้โห ... นานมากๆ พี่ผึ้งล่ะไม่อยากจะเชื่อเลยว่า นี่จะเป็นเรื่องจริง โหดร้ายมากๆๆๆ) และมีสตรีจีนนับไม่ถ้วนต้องพิการ หรือเสียชีวิต
เพราะขั้นตอนการรัดเท้า...เด็กหญิงที่เริ่มรัดเท้าจะต้องเจ็บปวดทรมานอยู่ตลอดช่วง 2ปี แล้วค่อยบรรเทา เมื่อเท้าที่รัดไว้เริ่มเข้ารูป การรัดเท้าเริ่มขึ้นในสมัยห้าราชวงศ์ ประวัติศาสตร์จีนบันทึกถึง ที่มาของประเพณีนี้ว่า จักรพรรดิลี่หยู แห่งราชวงศ์ถัง ทรงหลงใหลนางสนมเย่าเหนียง ซึ่งเต้นระบำได้งดงาม พระองค์มีบัญชาให้นางรัดเท้าด้วยแถบผ้า เพื่อให้ดูเล็กลงคล้ายรูปพระจันทร์เสี้ยว
เพราะขั้นตอนการรัดเท้า...เด็กหญิงที่เริ่มรัดเท้าจะต้องเจ็บปวดทรมานอยู่ตลอดช่วง 2ปี แล้วค่อยบรรเทา เมื่อเท้าที่รัดไว้เริ่มเข้ารูป การรัดเท้าเริ่มขึ้นในสมัยห้าราชวงศ์ ประวัติศาสตร์จีนบันทึกถึง ที่มาของประเพณีนี้ว่า จักรพรรดิลี่หยู แห่งราชวงศ์ถัง ทรงหลงใหลนางสนมเย่าเหนียง ซึ่งเต้นระบำได้งดงาม พระองค์มีบัญชาให้นางรัดเท้าด้วยแถบผ้า เพื่อให้ดูเล็กลงคล้ายรูปพระจันทร์เสี้ยว
ม้บทบาทความเป็นแม่เป็นบทบาทในอุดมคติของหญิงจีน และเป้าหมายของแม่ที่มีต่อลูกสาวก็คืออยากให้ลูกได้แต่งงานอย่างมีหน้ามีตา บรรดาแม่ๆ จึงรัดเท้าลูกสาวของตน โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 5 ถึง 7 ขวบ นิ้วทุกนิ้วยกเว้นนิ้วโป้ง จะถูกพับเข้าไปอยู่ใต้เท้า แล้วถูกรัดจนแน่นด้วยแถบผ้ายาวๆ โดยรัดขึ้นไปทางส่วนโค้งหลังเท้า ทำให้เท้างอและโค้งเว้าเข้าข้างในอย่างมากจนถึงกลางฝ่าเท้า
ดังนั้น กระดูกส่วนหน้าของส้นเท้าจึงถูกดันขึ้น และส่วนบนของเท้าจึงกลายเป็นรูปกลมและหักงอเป็นมุมอย่างมาก และเนื่องจากการรัดเท้าด้วยผ้านั้นต้องรัดทิ้งไว้ทั้งวันทั้งคืน และจะถอดออกก็ต่อเมื่อเวลาทำความสะอาดเท้า กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบางส่วนจึงขึงตึงและบางทีก็หดตัว อันเป็นการบังคับให้กระดูกเคลื่อนไปสู่ทิศทางที่แตกต่างไป ยังผลให้เท้าผิดรูปผิดร่างหรือพิการ นั่นคือเท้ามีขนาดสั้นขึ้นและมีฝ่าเท้าที่แคบขึ้น กระบวนการนี้สร้างความเจ็บปวดยิ่ง
ดังนั้น กระดูกส่วนหน้าของส้นเท้าจึงถูกดันขึ้น และส่วนบนของเท้าจึงกลายเป็นรูปกลมและหักงอเป็นมุมอย่างมาก และเนื่องจากการรัดเท้าด้วยผ้านั้นต้องรัดทิ้งไว้ทั้งวันทั้งคืน และจะถอดออกก็ต่อเมื่อเวลาทำความสะอาดเท้า กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบางส่วนจึงขึงตึงและบางทีก็หดตัว อันเป็นการบังคับให้กระดูกเคลื่อนไปสู่ทิศทางที่แตกต่างไป ยังผลให้เท้าผิดรูปผิดร่างหรือพิการ นั่นคือเท้ามีขนาดสั้นขึ้นและมีฝ่าเท้าที่แคบขึ้น กระบวนการนี้สร้างความเจ็บปวดยิ่ง
หลังจากประเพณีนี้แพร่ไปสู่ชนชั้นล่างแล้ว ซึ่งก็หมายความว่าบรรดาลูกสาวที่ถูกมัดเท้านั้นไม่สามารถทำงานหนักในไร่นาได้อีกต่อไป และการเดินก็เปลี่ยนเป็นการวิ่งกระย่องกระแย่ง และหลังจากร่างกายหยุดการเจริญเติบโตแล้ว การรัดเท้าก็ยังคงกระทำไปจนตลอดชีวิต เนื่องจากการรัดเท้าด้วยผ้ากับรองเท้าที่ออกแบบเป็นพิเศษนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการช่วยพยุงเท้าที่พิกลพิการคู่นั้น
พอถึงศตวรรษที่ 11 การรัดเท้าจึงกลายเป็นค่านิยม ที่แพร่หลายในหมู่สตรีชาววังและตระกูลขุนนาง ก่อนที่จะระบาดไปยังชนชั้นล่าง โดยเท้าดอกบัวที่สวยงามจะต้องมีลักษณะ 7ประการสำคัญ คือ บาง เล็ก เรียว โค้ง หอม นุ่ม และต้องเท่ากัน
ในปี 1912 มีการสถาปนาสาธารณรัฐจีน ทุกมณฑลถูกสั่งห้ามให้มีการรัดเท้า แต่ก็ยังมีสตรีจีนจำนวนมากที่เต็มใจเจ็บปวด โดยเลือกการรัดเท้า เพราะเชื่อว่า เท้าดอกบัวของผู้หญิงที่รัดเท้า จนดูเหมือนเท้าตุ๊กตา เป็นสิ่งกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ และช่วยให้ช่องคลอดของผู้หญิงกระชับ ทำให้ผู้ชายได้รับความสุขอย่างยิ่ง...
คนรุ่นใหม่ทั่วไปอาจจะนึกไม่ออกว่า ในสมัยก่อนมาตรฐานในการประเมินความสวยความงามของผู้หญิงจีนใช่ว่าจะดูจากหน้าตาอันสวยงาม...ผิวพันธุ์ขาวหมดจดสดใส...หรือร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงและรูปรางดีเท่านั้น แต่จะพิจารณาดูว่า ผู้หญิงคนนั้นได้รัดเท้ามาก่อนหรือไม่และเท้ามีขนาดเล็กเท่าไรด้วย
ขนาดมีออกมาเป็นสำนวนจีน ที่ว่า"ซันชุ่นจินเหลียน"ซึ่งแปลว่า"เท้าเล็กขนาด 3 นิ้ว" ซึ่งก็สามารถสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญในการประเมินความงามของผู้หญิง ในสมัยโบราณได้ดีเลยเนอะ
นอกจากนี้ประเพณีรัดเท้า ถือเป็นแฟชั่นอย่างหนึ่งในสมัยโบราณที่ผู้หญิงจีนนิยมปฏิบัติเอาอย่างกันเลยทีเดียว พี่ผึ้งล่ะเป็นคนหนึ่งที่ไม่ขอร่วมก๊วนแฟชั่นอันนี้แน่นอน แค่คิดก็สยองแล้ว
ทั้งๆที่พฤติกรรมนี้นับเป็นการทรมานตนเองอย่างรุนแรง ผู้หญิงจีนที่มีเท้าขนาดใหญ่ถือว่าเป็นผู้หญิงที่ขี้เหร่ที่สุดในอดีตเลยนะ...เชื่อหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ในอดีต เมื่อเด็กหญิงโตถึง 10 ขวบต้องรัดเท้าเพื่อไม่ให้เท้าโตขึ้นอีก
หากไม่รัด เมื่อโตเป็นสาวแล้ว ก็ยากที่จะแต่งงานหรือหาสามีได้ อะไรมันจะยุ่งยากขนาดนี้ และที่สำคัญ...ประเพณีการรัดเท้ายังมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตของผู้หญิงจีนด้วย นับได้ว่าเป็นประเพณีที่ทำร้ายร่างกายสตรีและฝ่าฝืนศีลธรรมในสมัยโบราณของจีน
จนชาวจีนมีสำนวนว่า "กั่วเสี่ยวเจี่ยวอี้ซวงหลีว หยั่นเล่ยอี้กาง" ออกมา ซึ่งแปลว่า "รัดเท้าแต่เด็ก โตขึ้นน้ำตาเล็ดเต็มตุ่ม" คำกล่าวนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า ค่านิยมเรื่องเท้าผู้หญิง"ซันชุ่นจินเหลียน"ที่ชาวจีนโบราณนิยมนั้น ได้มาจากเลือดเนื้อและน้ำตาของผู้หญิงจีนนั่นเอง
ในปี 1912 มีการสถาปนาสาธารณรัฐจีน ทุกมณฑลถูกสั่งห้ามให้มีการรัดเท้า แต่ก็ยังมีสตรีจีนจำนวนมากที่เต็มใจเจ็บปวด โดยเลือกการรัดเท้า เพราะเชื่อว่า เท้าดอกบัวของผู้หญิงที่รัดเท้า จนดูเหมือนเท้าตุ๊กตา เป็นสิ่งกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ และช่วยให้ช่องคลอดของผู้หญิงกระชับ ทำให้ผู้ชายได้รับความสุขอย่างยิ่ง...
คนรุ่นใหม่ทั่วไปอาจจะนึกไม่ออกว่า ในสมัยก่อนมาตรฐานในการประเมินความสวยความงามของผู้หญิงจีนใช่ว่าจะดูจากหน้าตาอันสวยงาม...ผิวพันธุ์ขาวหมดจดสดใส...หรือร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงและรูปรางดีเท่านั้น แต่จะพิจารณาดูว่า ผู้หญิงคนนั้นได้รัดเท้ามาก่อนหรือไม่และเท้ามีขนาดเล็กเท่าไรด้วย
ขนาดมีออกมาเป็นสำนวนจีน ที่ว่า"ซันชุ่นจินเหลียน"ซึ่งแปลว่า"เท้าเล็กขนาด 3 นิ้ว" ซึ่งก็สามารถสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญในการประเมินความงามของผู้หญิง ในสมัยโบราณได้ดีเลยเนอะ
นอกจากนี้ประเพณีรัดเท้า ถือเป็นแฟชั่นอย่างหนึ่งในสมัยโบราณที่ผู้หญิงจีนนิยมปฏิบัติเอาอย่างกันเลยทีเดียว พี่ผึ้งล่ะเป็นคนหนึ่งที่ไม่ขอร่วมก๊วนแฟชั่นอันนี้แน่นอน แค่คิดก็สยองแล้ว
ทั้งๆที่พฤติกรรมนี้นับเป็นการทรมานตนเองอย่างรุนแรง ผู้หญิงจีนที่มีเท้าขนาดใหญ่ถือว่าเป็นผู้หญิงที่ขี้เหร่ที่สุดในอดีตเลยนะ...เชื่อหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ในอดีต เมื่อเด็กหญิงโตถึง 10 ขวบต้องรัดเท้าเพื่อไม่ให้เท้าโตขึ้นอีก
หากไม่รัด เมื่อโตเป็นสาวแล้ว ก็ยากที่จะแต่งงานหรือหาสามีได้ อะไรมันจะยุ่งยากขนาดนี้ และที่สำคัญ...ประเพณีการรัดเท้ายังมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตของผู้หญิงจีนด้วย นับได้ว่าเป็นประเพณีที่ทำร้ายร่างกายสตรีและฝ่าฝืนศีลธรรมในสมัยโบราณของจีน
จนชาวจีนมีสำนวนว่า "กั่วเสี่ยวเจี่ยวอี้ซวงหลีว หยั่นเล่ยอี้กาง" ออกมา ซึ่งแปลว่า "รัดเท้าแต่เด็ก โตขึ้นน้ำตาเล็ดเต็มตุ่ม" คำกล่าวนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า ค่านิยมเรื่องเท้าผู้หญิง"ซันชุ่นจินเหลียน"ที่ชาวจีนโบราณนิยมนั้น ได้มาจากเลือดเนื้อและน้ำตาของผู้หญิงจีนนั่นเอง
ส่องเท้าหญิงเฒ่าแดนมังกร หลังถูกพันธนาการจากการ มัดเท้า !
ที่มา: variety.teenee.com