เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2558 ผศ.ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant แสดงความเห็นถึงกรณีพญานาคว่า ความเชื่อเรื่องที่พบพญานาคในแม่น้ำโขงนั้น จริง ๆ แล้วคือ ปลาออร์ฟิต (oarfish) ซึ่งไม่ใช่ปลาท้องถิ่นในเอเชีย แต่เคยจับได้ในแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อสักเกือบ 20 ปีก่อน แล้วถูกนำมาอุปโลกน์เป็นพญานาคแม่น้ำโขง
พร้อมกันนี้ ยังได้โพสต์รูปส่วนหัวของปลาชนิดนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นสัตว์น้ำที่มีขนาดใหญ่มาก
พร้อมกันนี้ ยังได้โพสต์รูปส่วนหัวของปลาชนิดนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นสัตว์น้ำที่มีขนาดใหญ่มาก
"สาธุจ้าา.. ในที่สุดก็เจอตัวจริงแล้ว หัวของปลาออร์ (oarfish) ตัวจริง ที่จับได้ที่แคลิฟอร์เนียซัก 20 ปีก่อน แล้วโดนเอามาอุปโลกเป็นพญานาคน้ำโขง .. ดองได้สมบูรณ์ดีมาก
กดไลค์กดแชร์เพื่อสิริมงคลแก่วงการวิทยาศาสตร์ไทยนะ (กดดูที่รูป เพื่อดูภาพเต็ม ๆ ตอนที่จับได้ครับ)
------
Win Hong
วันนี้พาคณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนมาเยี่ยมชม Marine Vertebrate Collection ที่ Scripps Institution of Oceanography เลยได้ถือโอกาสโชว์ "หัวปลาออร์" ที่คนไทยนึกว่าเป็น "พญานาค" ...
ความพิเศษคือ หัวที่ H.J. Walker -senior scientist- ที่นี่กำลังถือโชว์อยู่ คือหัวของปลาออร์ตัวจริงจากรูปข้างล่าง ที่ H.J. เป็นคนเดินทางไปเอามาจาก ทหารเรืออเมริกา ที่จับได้ที่ชายฝั่งแถวๆเมืองSan Diegoในปี 1996 ตัดมาแค่หัวเพราะตัวจริงยาว7เมตรกว่า ๆ ... ซึ่งหัวโคตรใหญ่ ดูได้จากในรูป"
กดไลค์กดแชร์เพื่อสิริมงคลแก่วงการวิทยาศาสตร์ไทยนะ (กดดูที่รูป เพื่อดูภาพเต็ม ๆ ตอนที่จับได้ครับ)
------
Win Hong
วันนี้พาคณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนมาเยี่ยมชม Marine Vertebrate Collection ที่ Scripps Institution of Oceanography เลยได้ถือโอกาสโชว์ "หัวปลาออร์" ที่คนไทยนึกว่าเป็น "พญานาค" ...
ความพิเศษคือ หัวที่ H.J. Walker -senior scientist- ที่นี่กำลังถือโชว์อยู่ คือหัวของปลาออร์ตัวจริงจากรูปข้างล่าง ที่ H.J. เป็นคนเดินทางไปเอามาจาก ทหารเรืออเมริกา ที่จับได้ที่ชายฝั่งแถวๆเมืองSan Diegoในปี 1996 ตัดมาแค่หัวเพราะตัวจริงยาว7เมตรกว่า ๆ ... ซึ่งหัวโคตรใหญ่ ดูได้จากในรูป"