BREAKING NEWS

เมื่อเราสามารถสแกนสมองเพื่อดูว่าคุณกำลังตกหลุมรักอยู่หรือไม่?

เมื่อเราสามารถสแกนสมองเพื่อดูว่าคุณกำลังตกหลุมรักอยู่หรือไม่?

หลังจากการสแกนสมองของเด็กนักเรียนจำนวน 100 คน ซึ่งกว่าหนึ่งในสามกำลังตกหลุมรักใครบางคนอย่างสิ้นหวัง นักวิทยาศาสตร์ได้สามารถเปิดเผยการเปลี่ยนแปลงบางการทำงานบางอย่างในสมองซึ่งเกี่ยวข้องกับความรัก กลุ่มนักเรียนที่กำลังตกหลุมรักใครบางคนมีการทำงานของเส้นประสาทซึ่งเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ของสมองรวมทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อรางวัลด้วย การค้นพบครั้งนี้ช่วยเปิดเส้นทางสู่เบื้องหลังกลไกทางประสาทของความรักและแสดงให้เห็นว่าวิธีการนี้สามารถใช้ศึกษาหรือตรวจสอบความรักได้ งานวิจัยนี้ได้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Frontiers in Human Neuroscience
ความรักคืออะไร? มันไม่ใช่คำถามที่จะหาคำตอบได้ง่ายๆ แต่หากถามนักจิตวิทยาแล้ว ก็จะได้คำตอบว่า “มันคือสถานะทางอารมณ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับความปรารถนาที่จะเข้าไปหรือรักษาความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับใครคนหนึ่ง” อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่ได้สร้างความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับชีววิทยาของความรัก ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ามันเกี่ยวข้องกับหลายหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ความเป็นสุขที่สุด, ความปรารถนา, ความหลงใหล, การเปลี่ยนแปลงของบุคลิคลักษณะ และการลองเสี่ยงเป็นต้น
ดังนั้นมันจึงเป็นสิ่งชัดเจนที่ว่า ความรักเกิดมาจากการประกอบกันอย่างซับซ้อนของกระบวนการรับรู้ อารมณ์ และพฤติกรรม แล้วกลไกทางประสาทสำหรับความรักหละ ? หัวข้อนี้ได้รับความสนใจและมีคนศึกษาเป็นอย่างมากในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีหลายการศึกษาอุทิศเวลาสำหรับการตรวจสอบลักษณะการทำงานของสมองในกลุ่มตัวอย่างที่มีความรัก ในขณะที่งานวิจัยเหล่านี้ดูน่าสนใจ แต่มันก็ไม่ข้อจำกัดด้วยความจริงที่ว่าพวกเขาสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสมองซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือภารกิจเฉพาะได้เท่านั้น เช่น ขณะที่มองดูภาพถ่ายของคนรัก เป็นต้น ดังนั้นมันจึงยังไม่แน่ชัดว่าความรักสามารถส่งผลกระทบต่อโครงสร้างปฏิบัติการของสมองได้จริงหรือไม่ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่งานวิจัยล่าสุดพยายามที่จะค้นหาคำตอบ
สำหรับการศึกษานั้น นักวิจัยจากสถาบันวิจัยในประเทศจีนและนิวยอร์กได้เปิดรับนักเรียนมหาลัยที่มีสุขภาพดีจำนวน 100 คน ซึ่งมีอายุ 18 ปี จากมหาวิทยาลัย Southwest อาสาสมัครเหล่านี้ได้ถูกแบ่งเป็นสามกลุ่มที่แตกต่างกันตามสถานะความสัมพันธ์ทางความรักล่าสุดได้แก่ “ตกหลุมรัก (in-love)” ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่กำลังตกหลุมรักอย่างหนักไม่นานมานี้, “เลิกรัก (ended-love)” ประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่เพิ่มจบความสัมพันธ์และไม่ได้ตกหลุมรักใครจนถึงตอนนี้, “โสด (single)” ประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่ไม่เคยมีความรักเลย ระหว่างสามกลุ่มนี้ ไม่ได้มีความแตกต่างที่มีนัยสำคัญใดๆ เกี่ยวข้องกับอายุ การศึกษา และรายได้
จากนั้นนักวิจัยได้ใช้ fMRI ในการศึกษาการทำงานหรือกิจกรรมของสมองของอาสาสมัครทุกคนในขณะที่พวกเขาไม่ได้คิดถึงอะไรเลยเพื่อใช้เป็นตัวแปรควบคุมในการมองเห็นภาพรวมของโครงสร้างปฎิบัติการของสมองของอาสาสมัคร พวกเขาพบว่าจากการเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ กลุ่ม “ตกหลุมรัก” มีการทำงานของสมองที่สูงในหลายตำแหน่งเช่น ส่วนที่เกี่ยวข้องกับรางวัล, แรงบันดาลใจ, อารมณ์ และสังคม มากไปกว่านั้นยิ่งระยะเวลาที่พวกเขาตกหลุมรักนานมากเท่าไหร่ การทำงานของสมองก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ในทางตรงกันข้ามในกลุ่ม “เลิกรัก” ยิ่งระยะเวลาหลังจบความสัมพันธ์นานมากเท่าไหร่ ระดับการทำงานของสมองก็จะน้อยลงตาม
ดูเหมือนว่าการค้นพบนี้จะดูน่าสนใจ แต่มันก็ค่อนข้างสำคัญที่จะสังเกตเห็นว่าการศึกษาครั้งนี้มีข้อจำกัดที่สำคัญหลากหลายเช่นเดียวกัน อย่างแรกเลยมันไม่ได้ถูกศึกษาในระยะยาว ดังนั้นเราจึงไม่รู้ระดับการทำงานของสมองก่อนที่พวกเขาจะตกหลุมรัก นอกจากนี้มันยังขึ้นอยู่กับการจำแนกประเภทความรักของตัวอาสาสมัครเองซึ่งเป็สิ่งที่ขึ้นกับบุคคล
 
สงวนลิขสิทธิ์ © ข่าว ไทย